แชร์

เจาะลึกสมุนไพรในตำรับ เอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan) ตำรับสมุนไพรจีนบำรุงสุขภาพหู

อัพเดทล่าสุด: 3 เม.ย. 2025
7 ผู้เข้าชม

ตำรับยา Er Long Zuo Ci Wan (เอ่อหลงจั๋วซือหวาน) เป็นตำรับยาจีนโบราณที่ใช้ในการบำรุงสุขภาพของหู ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของไต ตับ และระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหู


          เอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan 耳聋左慈丸) ได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรมาจากตำรับยา ลิ่วเว่ยตี้หวงหวาน (Liu Wei Dihuang Wan 六味地黄丸) โดยตำรับเอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan 耳聋左慈丸)  จะประกอบด้วยตำรับยา ลิ่วเว่ยตี้หวงหวาน ซึ่งประกอบด้วยตัวยา จำนวน 6 ชนิด ได้แก่

1. สูตี้หวง (熟地黄)

2. ซานเย่า (山药)

3. ซานจูยหวี (山茱萸)

4. ฝูหลิง (茯苓)

5. หมู่ตันผี (牡丹皮)

6. เจ๋อเซี่ย (泽泻)

เป็นหลัก และเพิ่มตัวยา 2 ชนิด คือ

1. ฉือสือ (磁石)

2. จู๋เยี่ยไฉหู (竹叶柴胡)

ซึ่งสมุนไพรแต่ละตัวในตำรับก็จะมีหน้าที่และสรรพคุณแตกต่างกันออกไป โดยจะแยกตามสมุนไพรในตำรับ เอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan 耳聋左慈丸) ดังนี้


สรรพคุณตามภูมิปัญญา

1. ตำรับลิ่วเว่ยตี้หวงหวาน (六味地黄丸) 

สรรพคุณ รักษาอาการอินของตับและไตพร่อง มีอาการปวดหรือเมื่อยล้าบริเวณเอว มึนหรือเวียนศีรษะ ตาลาย หูอื้อ หูหนวก เหงื่อออกตอนหลับ น้ำอสุจิหลั่งออกมาไม่รู้ตัว อาการจากอินพร่องจนเกิดภาวะร้อนพร่อง ทำให้มีไข้ในช่วงบ่ายและกลางคืน หรือมีเหงื่อออก ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน กระหายน้ำ ปวดฟันจากภาวะร้อนพร่อง ปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นแดง

2. เพิ่มตัวยาฉือสือ (磁石)  และเยี่ยไฉหู (竹叶柴胡)  เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบำรุงไตและช่วยให้ตับสงบ 

สรรพคุณของตำรับเอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan 耳聋左慈丸) เสริมบำรุงอินของไตและช่วยให้ตับสงบ  ใช้รักษากลุ่มอาการอินของตับและไตพร่อง หูอื้อ หูหนวก วิงเวียนศีรษะ



รายละเอียดของข้อมูลตัวยาส่วนประกอบแต่ละชนิดในตำรับเอ่อหลงจั๋วซือหวาน (Er Long Zuo Ci Wan 耳聋左慈丸)


1. ฉือสือ 磁石 (Cishi) Magnetitum

ชื่อไทย : สินแร่แม่เหล็ก

เข้าเส้นลมปราณ : หัวใจ ตับ ไต

รส/ฤทธิ์ : รสหวานฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย

สรรพคุณ : บำรุงอิน เสริมบำรุงเลือด บำรุงธาตุน้ำ สารจำเป็น และไขกระดูก

ช้อบ่งใช้ : โรคภาวะซีด วิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดเมื่อย อ่อนแรงที่เอวและหัวเข่า ปวดร้อนในกระดูก เหงื่อออกตอนกลางคืน ในหูมีเสียง ผมหงอกก่อนวัย ผมร่วงผิดปกติ

คำเตือน : ฉือสือไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอยและปัสสาวะแสบขัดเนื่องจากการมีความร้อนชื้น

 

2. สูตี้หวง 熟地黄 (Shudihuang) - Radix Rehmanniae Preparata

ชื่อไทย : โกฐขี้แมวนึ่งเหล้า

เข้าเส้นลมปราณ : หัวใจ ตับ ไต

รส/ฤทธิ์ : รสหวานฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย

สรรพคุณ : บำรุงอิน เสริมบำรุงเลือด บำรุงธาตุน้ำ สารจำเป็น และไขกระดูก

ช้อบ่งใช้ : โรคภาวะซีด วิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับประจำเดือนมาไม่ปกติ ตกเลือด ปวด

เมื่อย อ่อนแรงที่เอวและหัวเข่า ปวดร้อนในกระดูก เหงื่อออกตอนกลางคืน ในหูมีเสียง ผมหงอกก่อนวัย ผมร่วงผิดปกติ

คำเตือน : สูตี้หวงค่อนข้างมีผลต่อการดูดซึม ควรระวังการใช้ผู้ป่วยที่ม้ามพร่อง ธาตุเบา อาหารไม่ย่อย เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้

 

3. ซานเย่า 山药 (Shanyao) - Rhizoma Dioscoreae

ชื่อไทย : ฮ่วยซัว

เข้าเส้นลมปราณ : ม้าม ปอด ไต

รส/ฤทธิ์ : รสหวานฤทธิ์สุขุม

สรรพคุณ : บำรุงชี่ เสริมอิน บำรุงม้าม ปอด และไต เหนี่ยวรั้งสารจำเป็น

ช้อบ่งใช้ : ตกขาว ฝันเปียก ปัสสาวะบ่อย เบาหวาน หอบหืด ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร

คำเตือน : -

 

4. ซานจูยหวี 山茱萸 (Shanzhuyu) - Fructus Corni

ชื่อไทย : -

เข้าเส้นลมปราณ : ตับ ไต

รส/ฤทธิ์ : รสเปรี้ยว ฝาดฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย

สรรพคุณ : เสริมบำรุงตับไต เก็บออมสารจำเป็น เหนี่ยวรั้งการหลั่งเร็วของอสุจิ ควบคุมการปัสสาวะให้ดีขึ้น

ช้อบ่งใช้ : วิงเวียนศีรษะ ในหูมีเสียง ปวดเมื่อยอ่อนแรงบริเวณเอวและหัวเข่า ปัสสาวะบ่อย ควบคุมไม่ได้ หลั่งอสุจิเร็ว อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เหงื่อออกมากผิดปกติตกขาว ประจำเดือนมามากผิดปกติอาการรู้สึกร้อนข้างในของ้ป่วยเบาหวาน

คำเตือน :  ควรระวังการใช้ซานจูยหวีในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอยและปัสสาวะแสบขัดเนื่องจากการมีความร้อนชื้น

 

5. ฝูหลิง 茯苓 (Fuling) Poria

ชื่อไทย : โป่งรากสน

เข้าเส้นลมปราณ : หัวใจ ปอด ม้าม ไต

รส/ฤทธิ์ : รสจืดอมหวานฤทธิ์สุขุม

สรรพคุณ : ขับระบายน้ำ ขับสลายความชื้นบำรุงม้าม สงบจิตใจ

ช้อบ่งใช้ : อาการบวมน้ำ ปัสสาวะขัด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ถ่ายเหลว

คำเตือน : -

 

6. หมู่ตันผี 牡丹皮 (Mudanpi) - Cortex Moutan

ชื่อไทย : เปลือกรากโบตั๋น

เข้าเส้นลมปราณ : หัวใจ ตับ ไต

รส/ฤทธิ์ : รสขม เผ็ดฤทธิ์เย็นเล็กน้อย

สรรพคุณ : ระบายความร้อน ทำให้เลือดเย็นลง กระจายเลือดเสีย ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

ช้อบ่งใช้ : ผดผื่นแดงบนผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อินพร่อง ร้อนใน 

ประจำเดือนไม่มา ปวดประจำเดือนฟกช้ำ ช้ำในจากการกระทบกระแทกฝีหนอง บวม อักเสบ

คำเตือน : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์

 

7. เจ๋อเซี่ย 泽泻 (Zexie) - Rhizoma Alismatis

ชื่อไทย : -

เข้าเส้นลมปราณ : ไต กระเพาะปัสสาวะ

รส/ฤทธิ์ : รสหวาน จืดฤทธิ์เย็นเล็กน้อย

สรรพคุณ : ขับปัสสาวะ ขับความชื้น ระบายความร้อน ทำให้เลือดเย็น

ช้อบ่งใช้ : ปัสสาวะขัด บวมน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน  ท้องเสีย บิด ปัสสาวะเป็นเลือด

คำเตือน : อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ผื่นแพ้ อุจจาระเหลว ถ่ายบ่อยวันละ 2 3 ครั้ง

 

8. จู๋เยี่ยไฉหู 柴胡 (Chaihu) - Radix Bupleuri

ชื่อไทย : -

เข้าเส้นลมปราณ : ปอด ม้าม ตับ

รส/ฤทธิ์ : รสเผ็ดฤทธิ์เย็นเล็กน้อย

สรรพคุณ : ลดไข้ตัวร้อนสาเหตุจากกลุ่มอาการภายนอก กระจายชี่ตับ ดึงหยางให้ลอยขึ้น

ช้อบ่งใช้ : ลดไข้ แก้ตัวร้อนในกลุ่มอาการภายนอก ใช้ในกลุ่มชี่ตับติดขัด มีอาการปวดชายโครง อารมณ์กลัดกลุ้ม และประจำเดือนมาผิดปกติ

คำเตือน : -

 
ตำรับสมุนไพรจีนโบราณ "เอ่อหลงจั๋วซือหวาน" ไม่ได้เป็นเพียงตำรับสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหูอื้อ หรือหูหนวกเท่านั้น แต่เป็น ศาสตร์แห่งการบำรุง ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของไต ตับ และระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพหูที่ดี

สรรพคุณที่โดดเด่นของตำรับสมุนไพรจีนโบราณ "เอ่อหลงจั๋วซือหวาน"

บำรุงรากฐาน : เสริมสร้างการทำงานของไตและตับ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินในศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ปรับสมดุล : ช่วยให้พลังงาน (ชี่) ไหลเวียนอย่างราบรื่น ลดความเครียดและภาวะร้อนใน
ฟื้นฟูการได้ยิน : บรรเทาอาการหูอื้อ หูหนวก และช่วยให้การได้ยินดีขึ้น
เอ่อหลงจั๋วซือหวาน ช่วยบำรุงสุขภาพหูอย่างองค์รวม ด้วยส่วนประกอบที่ลงตัวและการทำงานที่สอดประสานกัน ตำรับสมุนไพรจีนโบราณนี้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพหูให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
耳聋左慈丸 (Er Long Zuo Ci Wan) ตำรับสมุนไพรจีนบำรุงสุขภาพหู
Er Long Zuo Ci Wan มีประวัติยาวนานและเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง โดยมีบันทึกการใช้ในตำราแพทย์จีนโบราณ "重订通俗伤寒论" (ฉงติ้งทงซูซ่างหานหลุน) ซึ่งเป็นผลงานของแพทย์จีนชื่อดัง 俞根初 (หยู เกินชู) การพัฒนาสูตรนี้เน้นการบำรุงไตและตับ
18 ก.พ. 2025
ปัจจัยเสี่ยงอาการประสาทหูเสื่อม
พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมก่อนวัยมากขึ้น พฤติกรรมอะไรกันบ้าง ที่ทำให้การได้ยินลดลงไปทั้งที่อายุก็ยังไม่มาก
27 พ.ค. 2024
สุขภาพหูส่งผลต่อการได้ยิน และการทรงตัว
หู (Ear) เป็นอวัยวะสำคัญ มีหน้าที่รับเสียง และช่วยในการทรงตัว ซึ่งจะส่งกระแสประสาทไปสู่สมองโดยตรง ทำให้ 2 หน้าที่นี้เป็นสิ่งสำคัญ
27 ก.ย. 2024
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy