แชร์

การดูแลโรคประสาทหูเสื่อม ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.พ. 2025
5449 ผู้เข้าชม

 หู และการได้ยิน ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ตับ ไต และม้าม รวมถึงระบบเส้นลมปราณ

ไต เป็นอวัยวะกักเก็บหยิน หยาง ชี่ ซึ่งหยินทำหน้าที่เก็บสารจิง ที่สร้างไขกระดูก ไขสันหลัง ไขสมอง และสร้างฮอร์โมน เมื่ออายุมากขึ้น ไตอ่อนแอลง สารจิงก็จะสร้างไขสมองได้น้อยลง การทำงานร่วมกับหน้อยลง ทำให้เกิดอาการหูอื้อ หูวิ้ง มีเสียงในหูตามมานั้นเอง

ตับ เป็นอวัยวะที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับส่วนบนของร่างกาย เช่น หัว และสมอง เป็นต้น หากมีอารมณ์โมโหง่าย จะส่งผลให้หยาง (ความร้อน) ของตับลอยสูง ซึ่งกระทบต่อการได้ยิน

กระเพาะอาหาร และม้าม เป็นอวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร และดูดซึม สารอาหารเพื่อนำไปสร้างซี่ และเลือด ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงหู

เส้นลมปราณ ทำหน้าที่นำสารสำคัญไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าะต่าง ๆ โดยเส้นลมปราณที่ผ่านบริเวณหูคือ เส้นลมปราณเท้าเส้าหยางถุงน้ำดี มือเส้าหยางซานเจียว มือไท่หยางลำไส้เล็ก

          ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองว่าอาการผิดปกติทางหูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้ยินลดลง หูอื้อ หูวิ้ง หูมีเสียง เกิดจากร่างกายเสียสมดุล ชี่ และเลือดติดขัด เสมหะอุดตัน ความร้อนสะสมที่ตับ และถุงน้ำดี โดยเฉพาะเมื่อไตหยิน หรือหยางผิดปกติ

          ตำราแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า ไตเป็นอวัยวะสะท้อนของหู ดังนั้นหากไตผิดปกติจะแสดงอาการออกมาทางหู อีกทั้งเมื่อไตหยินพร่องจะแสดงอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ร้อนใน เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดเมื่อยเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และกลางอกร้อน เป็นต้น

 

        โรคประสาทหูเสื่อม เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกี่ยวกับหู สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทำงานในพื้นที่เสียงดัง การใส่หูฟังเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เป็นต้น

สาเหตุทางการแพทย์แผนจีนมองว่า


1. ลมจากภายนอกเข้าปะทะร่างกาย ทำให้อุดกั้นเส้นลมปราณ


2. เสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ


3. เลือดคั่ง ชี่ติดขัด


4. อารมณ์แปรปรวน โกรธ โมโห ขี้หงุดหงิด ทำให้ไฟตับขึ้นสู่เบื้องบน ไปอุดกั้นเส้นลมปราณ


5. สารจิงลดลง ไตหยินพร่อง ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นกักเก็บที่ไต

 

กลุ่มอาการของโรคประสาทหูเสื่อมทางการแพทย์แผนจีน

1. ลมร้อนรุกรานร่างกาย (风熟優装)

          เกิดจากปัจจัยภายนอก ลมร้อนเข้ามากระทบร่างกาย เกิดการเป็นไข้หวัดจนทำให้มีอาการหูอื้อ หูมี

2. ไฟเสมหะขึ้นข้างบน (痰火上扰) 

          มักพบในผู้ที่ร่างกายอ้วน ผู้ที่มีโรคอ้วน หรือผู้ที่ชอบทานอาหารทอด ๆ มัน ๆ เกิดการสะสมไขมันมากเกินไปจนทำให้เกิดการอุดตันเส้นลมปราณ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติทางหู (การได้ยินลดลง หูอื้อ หูวิ้ง หูตึง หูมีเสียง) และมีอาการมึนหัว หรือมึนงงร่วมด้วย

3. เลือดคั่งอกกั้นภายใน (瘀血内阻)

          มักพบในผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน โกรธ และโมโหง่าย ทำให้ชี่ และเลือดติดขัด ไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางหูฉับพลัน

4. หยางของตับแกร่งขึ้นสู่ส่วนบน (肝阳上亢)

          มักพบในผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน โกรธ และโมโมโหง่าย หยางขึ้นข้างบนมากเกินไป ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหูฉับพลัน (การยินลดลง หูอื้อ หูวิ้ง หูตึง หูมีเสียง) และมีอาการปวดหัวบริเวณขมับ 2 ข้าง อ่อนเพลียไม่มีแรง เจ็บสีข้าง ปากขม หายใจไม่สุด นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

5. ไตหยางพร่อง (肾阳虚弱)

          มักพบในผู้สูงอายุ ร่างกาย และอวัยวะเสื่อม ไตหยางพร่อง ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหู (การได้ยินลดลง หูอื้อ หูวิ้ง หูตึง หูมีเสียง) และมีอาการมือเท้าเย็น ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร

6. ไตหยินพร่อง (肾阴亏虚)

          มักพบในผู้สูงอายุ ร่างกาย และอวัยวะเสื่อม ไตหยินพร่อง ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหู (การได้ยินลดลง หูอื้อ หูวิ้ง หูตึง หูมีเสียง) และมีอาการปวดหัว เวียนหัว หน้ามืด ตาลาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเอว เหงื่อออกตอนกลางคืน ปัสสาวะมาก หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวาน

 

การรักษาทางการแพทย์แผนจีน

1. ยาสมุนไพรจีน หรือยาจีน รักษา และปรับสมดุลร่างกาย

2. ฝังเข็ม เพื่อกระตุ้นการทำงาน และช่วยเสริมการทำงานของเส้นลมปราณ และช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น

3. รมยา เป็นการใช้ความร้อนจากตัวยา อ้ายจิว (艾灸) ที่ใช้อุ่นตามจุดฝังเข็ม

 

หลักการวินิจฉัยว่าตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

          แพทย์แผนจีนมองโรคเป็นองค์รม โดยจะซักประวัติ และสอบถามพฤติกรรมการดำรงชีวิต สภาพแวดล้อม และสังเกตบุคลิกของผู้ป่วย วิเคราะห์ทั้งปัจจัยทางตรง และปัจจัยทางอ้อม เช่น อาชีพลักษณะการทำงานว่าอยู่ในพื้นที่เสียงดังมากน้อยเพียงใด เช่นพนักงานสถานบันเทิง พนักงานโรงานเครื่องจักร พนักงานภาคพื้น พนักงานโรงกลึง เป็นต้น อารมณ์ การรับประทานอาหาร สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย หรือผู้สูงอายทีร่างกายเสื่อมไปตามอายุ ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อม จากนั้นจัดเข้าสู่หมวดการแยกโรคจากสาเหตุข้างต้น

          การรักษาแพทย์แผนตะวันตก หรือแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อรักษาแบบผสมผสานกับแพทย์แผนจีนช่วยเสริมประสิทธิภาพทางการรักษาโดยแพทย์แผนจีนจะมีตำรับยาที่ใช้รักษาประสาทหูเสื่อมตามสาเหตุการเกิดโรคที่กล่าวไว้ข้างต้นนอกจากยาสมุนไพรจีนจะช่วยรักษา และฟื้นฟูประสาทหูแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกัน และชะลอการเกิดโรคประสาทหูเสื่อมได้ดีอีกด้วย

 

สมุนไพรในตำรับฟื้นฟูเส้นประสาทหู

· สูตี้หวัง (Radix Rehmanniae Preparata)

สรรพคุณ บำรุงหยิน บำรุงไต บำรุงเลือด บรรเทาอาการหูอื้อ วิงเวียน ปวดเอว เหงื่อออกตอนกลางคืน

· ซันจูหวี (Fructus Corni)

สรรพคุณ ช่วยให้การได้ยินและการมองเห็นดีขึ้น บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย

ปรับสมดุลการทำงานของกระเพาะอาหาร แก้โรคหอบหืด หูอื้อ ไตอ่อนแอ

· ซันเอี้ยว (Rhizoma Diosoreae)

สรรพคุณ บำรุงหยินในม้าม บำรุงปอด บำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงไต

· จื๋อเซี่ย (Rhizoma Alismatis)

สรรพคุณ ขับเสมหะที่คั่งอยู่ในร่างกาย ขับความชื้น ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ บรรเทาอาการวิงเวียน หูอื้อ

· ฝูหลิง (Poria)

สรรพคุณ บำรุงม้าม ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึมของน้ำในร่างกายดีขึ้น ขับความชื้นขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้หลับสบาย

· หมู่ตันผี (Cotex Moutan)

สรรพคุณ ขับพิษร้อน ทำให้เลือดเย็น สลายเลือดคั่ง อาเจียนเป็นเลือด

· ต้วนฉือสือ (Magnexitum)

สรรพคุณ บำรุงหยินในตับ บำรุงไต บรรเทาอาการวิงเวียน หูอื้อ ปวดเมื่อยเอว ลดอาการหลั่งอสุจิเร็ว

 

 

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคประสาทหูเสื่อม

1. การรักษะแบบผสมผสาน โดยรักษากับแพทย์เฉพาะทาะทางหู จมูก และรักษาร่วมกับแพทย์แผนจีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษา เห็นผลลัพธ์ทางการรักษาที่ชัดเจนมากขึ้น

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง

3. พักผ่อนให้เพียงพอ



รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงประสาทหู

1. โกจิเบอร์รี่ ปารุงร่างกาย บำรุงชี่ และเลือด เสริมพลังงานในร่างกาย

2. มัลเบอร์รี่ บำรุงซีไต เสริมหยินบำรุงเลือด

3. รังนก เสริมซี่หยิน บำรุงร่างกาย

4. ซานจู๋อยู่ บำรุงตับ และไต ช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ ลดอาการหน้ามืด ตาลาย และลดอาการหูมีเสียง

          ถึงแม้โรคประสาทหูเสื่อมจะเป็นโรคที่มาพร้อมอายุ แต่เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจทำให้เกิดการเสื่อมก่อนวัยได้ เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพจึงสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การพักผ่อน หรือแม้แต่การส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีการอื่น ๆ ดูแลหูของคุณให้ดี เพื่อสุขภาพการได้ยินที่มีคุณภาพ

 



บทความที่เกี่ยวข้อง
耳聋左慈丸 (Er Long Zuo Ci Wan) ตำรับสมุนไพรจีนบำรุงสุขภาพหู
Er Long Zuo Ci Wan มีประวัติยาวนานและเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง โดยมีบันทึกการใช้ในตำราแพทย์จีนโบราณ "重订通俗伤寒论" (ฉงติ้งทงซูซ่างหานหลุน) ซึ่งเป็นผลงานของแพทย์จีนชื่อดัง 俞根初 (หยู เกินชู) การพัฒนาสูตรนี้เน้นการบำรุงไตและตับ
18 ก.พ. 2025
ปัจจัยเสี่ยงอาการประสาทหูเสื่อม
พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมก่อนวัยมากขึ้น พฤติกรรมอะไรกันบ้าง ที่ทำให้การได้ยินลดลงไปทั้งที่อายุก็ยังไม่มาก
27 พ.ค. 2024
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy