แชร์

ดูแลหูอย่างไร ไม่ให้ประสาทหูเสื่อมไว

อัพเดทล่าสุด: 24 ต.ค. 2024
202 ผู้เข้าชม

ดูแลหูอย่างไร ไม่ให้ประสาทหูเสื่อมไว

หู อวัยวะสำคัญที่อยู่ในประสาทสัมผัสทั้ง 5 คอยรับเสียง และช่วยเรื่องการทรงตัว และเป็นหนึ่งในอวัยวะที่หลายคนมักมองข้าม หากไม่ดูแลรักษาสุขภาพหูให้ดีอาจเกิดผลเสียที่ไม่คาดคิดตามมาได้ เช่น การสูญเสียการได้ยิน อันเนื่องมาจากอาการประสาทหูเสื่อม

สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนที่รับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์อายุที่มากขึ้นปัญหาทางสุขภาพ หรือ ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการประสาทหูเสื่อม 3 ระดับ ได้แก่

 

  • ประสาทหูเสื่อมเล็กน้อย
    ผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อมเล็กน้อยจะไม่ได้ยินเสียงที่ดังประมาณ 26 - 40 เดซิเบล หรือเทียบได้กับเสียงกระซิบ เสียงที่ดังในระดับปกติ (ประมาณ 41 - 55 เดซิเบล) อาจจะยังฟังเข้าใจได้ แต่เมื่อพูดเบาๆ หรือกระซิบ จะไม่ได้ยินเสียงนั้นๆ หรือไม่สามารถจับใจความสิ่งที่พูดคุยกันได้
  • ประสาทหูเสื่อมปานกลาง
    ผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อมปานกลางจะไม่ได้ยินเสียงที่ดังประมาณ 41 - 55 เดซิเบล หรือเทียบได้กับเสียงพูดในระดับปกติ จะไม่ได้ยินเสียงพูดของอีกฝ่ายเมื่อต้องพูดคุยกันตามปกติ อาจจะต้องฟังซ้ำ หรือออกเสียงดังขึ้น เพื่อสื่อสารกันให้เข้าใจ
  • ประสาทหูเสื่อมรุนแรง
    ผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อมรุนแรงจะไม่ได้ยินเสียงที่ดังเกิน 71 เดซิเบลขึ้นไป หรือเทียบได้กับระดับเสียงคนตะโกน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

 

เสียงมี 3 ประเภท

1. เสียงบริสุทธิ์ คือ เสียงที่มีความถี่เดียว เช่น เสียงที่เกิดจากการ เคาะซ่อมเสียง

2. เสียงผสม คือ เสียงที่เกิดจากเสียงบริสุทธิ์หลายความถี่มารวมกัน เช่น เสียงพูดคุย เสียงดนตรี เป็นต้น

3. เสียงรบกวน คือ เสียงที่ไม่พึงปรารถนาของผู้รับฟัง ซึ่งอาจเป็น เสียงบริสุทธิ์ หรือเสียงผสมก็ได้ เสียงรบกวนอาจก่อให้เกิด ความเครียด หรือหากมีความดัง ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตราย จะทําให้หูเกิดความผิดปกติได้

เสียงที่เป็นอันตรายต่อหู ทางองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดไว้ว่าเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) เป็นอันตรายต่อมนุษย์เริ่มมีอันตรายต่อหู ถ้าต้องทำงานในที่มีเสียงดังระดับ 80-90 เดซิเบล จะต้องทำงานนั้นไม่เกิน วันละ 7-8 ชม. เพราะถ้าเกินกว่านี้จะเกิดอาการหูอื้อ ถ้าปล่อยไว้นานไปจะทำให้ประสาทหูถูกทำลายจากเสียงดังได้

สำหรับการฟังอย่างปลอดภัย องค์การอนามัยโลกได้แนะนำ 4 ข้อหลักที่สามารถทำตามกันได้ง่ายๆ  คือ

1. ลดระดับเสียง การเปิดเพลงฟัง ไม่ว่าจะเป็นการใส่หูฟังแบบครอบ หูฟังแบบใส่ในช่องหู หรือการเปิดใส่ลำโพงไม่ควรเปิดเสียงดังเกิน 60% ของความดังที่เครื่องตั้งไว้

2. ลดเวลาการฟัง หากต้องทำงานในพื้นที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ไม่ควรทำเกิน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน หรือการใช้หูฟังไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3. หลีกเลี่ยงความดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น สถานบันเทิง สนามยิงปืน ช่วงเทศกาลที่จุดประทัด ควรพยายามอยู่ให้ไกลจากจุดกำเนิดเสียงให้มากที่สุด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน 

4. ตรวจการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคได้รวดเร็ว และทำการรักษา หรือปรับพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว

 

สังเกตุอาการประสาทหูเสื่อม

  • ได้ยินเสียงในหูข้างหนึ่งดังกว่าอีกข้าง
  • มักได้ยินเสียงหวีด หรือเสียงจั้กจั่นดังในหู
  • มีปัญหาในการได้ยินเสียงหากอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดัง หรือในสถานการณ์ที่มีผู้พูดหลายคน
  • เข้าใจเสียงของผู้ชายได้ง่ายกว่าเสียงของเด็ก และผู้หญิง
  • มีปัญหาในการได้ยินเสียงสูง
  • ได้ยินเสียงไม่ชัดหรือได้ยินเป็นเสียงอู้อี้
  • วิงเวียนศีรษะ หรือมีปัญหาในการทรงตัว
  • หูอื้อ
     แต่อาการที่มักพบบ่อยคือ อารการหูอื้อ วิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน และมีเสียงดังในหูเช่น เสียงหวีด เสียงซ่า เสียงตุบๆ หึ่งๆ วิ้งๆ โดยเสียงในหูนั้นจะได้ยินเพียงคนเดียว โดยมักจะได้ยินเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบ หรือในตอนกลางคืน ช่วงเวลาพักผ่อน อาจจะเป็นๆ หายๆ หรือเป็นเรื้อรัง ที่ได้ยินเสียงนั้นตลอดเวลา หรือบางรายเสียงในหูนั้นผู้อื่นสามารถได้ยินด้วยได้

 

ผลกระทบผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อม

     อาการประสาทหูเสื่อม อาจไม่ได้เป็นอาการที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย เพราะโดยทั่วไปคนเรานั้นต้องพูดและฟังอยู่เสมอ ในการสื่อสารกัน ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ

1. ไม่สามารถจับใจความได้
ไม่สามารถสื่อสาร หรือจับใจความได้อย่างชัดเจน อาจทำให้สื่อสารขาดตอนหรือไม่รู้ว่าใครกำลังพูดอยู่ถ้าอยู่ในสถานการณ์คุยกันในวงกว้าง

2. ได้ยินเสียงอู้อี้
เสียงที่ได้ยินมักจะเป็นเสียงที่ไม่ชัด หรือได้ยินเสียงอู้อี้อยู่ในหู ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสื่อสารกับผู้อื่น และยังสร้างความรำคาญใจให้กับตัวผู้มีอาการเองอีกด้วย

3. แยกทิศทางเสียงไม่ได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมที่หูสองข้างได้ยินเสียงไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดการสับสน และไม่สามารถหาต้นทางของเสียงที่ได้ยินได้

4. วิงเวียนศีรษะ เสียการทรงตัว
มีอาการเวียนศีรษะ และเสียทักษะในการทรงตัว เนื่องจากส่วนเซมิเซอร์คิวลาร์ คาแนล (Semicircular Canal) ที่อยู่ภายในหู เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทรงตัว ได้เสื่อมสภาพลงหรือไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติจากอาการประสาทหูเสื่อมนั่นเอง

 

วิธีการดูแลสุขภาพหูไม่ให้เสื่อมก่อนวัย

  • หลีกเลี่ยงเสียงดัง หรือใส่อุปกรณ์ป้องกันหูเมื่ออยู่ในที่เสียงดัง สามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 20-40 เดซิเบล
  • จำกัดความดังของเสียงไม่ให้เกินค่าปกติ (40-60 เดซิเบล)
  • ควบคุมโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • งดยาบางประเภทที่ส่งผลร้ายต่อหู 
  • ไม่แคะหู เพราะขี้หูนั้นสามารถปกป้องสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้าหูไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอองต่างๆ หรือมด แมลง ที่สำคัญขี้หูสามารถหลุดออกมาได้เองตามธรรมชาติ
  • หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 
    การดูแลสุขภาพหูของตนเองอย่างถูกวิธีนั้น นอกจากจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกขึ้นแล้ว ยังเป็นวิธีที่ช่วยปกป้องสมอง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อีกด้วย 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy